Analysis of Electrocardiogram for Stress Classification

160

Views

0

Downloads

จรรยาลิขิต, ศรีสกุล (2018) Analysis of Electrocardiogram for Stress Classification Bachelor thesis, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang

Abstract

ความเครียดเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต เพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดจาก ความเครียดจึงจําเป็นต้องมีกระบวนการตรวจจับความเครียด โดยที่ความเครียดเองสามารถตรวจวัดและประเมินได้ หลากหลายวิธี เช่น การทําแบบทดสอบเพื่อวัดและประเมินความเครียดทางจิตวิทยา การตรวจวัดปริมาณคอร์ติซอลใน น้ําลาย การสังเกตการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจในรูปของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งในปัจจุบันมีอุปกรณ์พกพาหลาย ชนิดที่สามารถตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ตลอดเวลาที่สวมใส่ โดยชุดข้อมูลสําหรับการตรวจจับความเครียดโดยอุปกรณ์พกพา เป็นหนึ่งในตัวอย่างของชุดข้อมูลที่เก็บข้อมูลของคลื่นกายภาพด้วยอุปกรณ์พกพา โดยทั่วไปแล้วการตรวจจับความเครียดจะ ทําโดยการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการแปรผันของการเต้นของหัวใจซึ่งยังคงให้ผลลัพธ์ ที่ไม่ดีนัก เพื่อที่จะพัฒนาประสิทธิภาพของการตรวจจับความเครียดจึงได้นําการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักเข้ามาเป็นตัวสกัด คุณสมบัติเพิ่มเติม การวิเคราะห์องค์ประกอบหลักมีจุดประสงค์เพื่อสกัดเฉพาะมิติของข้อมูลที่มีความสําคัญจากข้อมูลเดิม โดยในส่วนของการทดลองได้มีการแบ่งการจําแนกประเภทออกเป็น 2 รูปแบบแบบ ได้แก่ การจําแนกข้อมูลแบบ 2 ประเภท (ช่วงเครียดและช่วงที่ช่วงไม่ใช่ความเครียด) และการจําแนกข้อมูลแบบ 3 ประเภท (ช่วงปกติ ช่วงเครียด และช่วงเพลิดเพลิน) โดยที่ทั้งสองรูปแบบจะถูกจําแนกด้วยการหาเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด k ตัว โดยได้ผลสําหรับการจําแนกประเภทคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แบบ 2 ประเภท (ช่วงเครียดและช่วงที่ไม่ใช่ช่วงความเครียด) อยู่ที่ 87.34 % และได้ผลสําหรับการจําแนกประเภทคลื่นไฟฟ้า หัวใจแบบ 3 ประเภท (ช่วงพื้นฐาน ช่วงความเครียด และช่วงเพลิดเพลิน) อยู่ที่ 54.5%

Thai title:

การวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อจำแนกกลุ่มของความเครียด

Item Type:

Thesis (Bachelor)

Deposited by:

ระบบ อัตโนมัติ

Date Deposited:

2021-09-06 03:38:06

Last Modified:

2021-10-27 05:19:41

Impact and Interest:

Presentation Video

Statistics