ชะนะมา, ล้ำมณี and ยงยศ, ศุภกิจ (2016) A study on indoor localization method improvement Bachelor thesis, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang
บทความนี้เป็นการศึกษาทดลองเพื่อหาข้อจํากัดของวิธีการระบุตําแหน่งภายในอาคารโดยวิธีการพิจารณา เอกลักษณ์เฉพาะตําแหน่งด้วยเทคนิคการตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือ (Fingerprinting) รวมกับการทําเหมืองข้อมูล ซึ่งเป็น กระบวนการที่นําข้อมูลจํานวนมากมาวิเคราะห์โดยอาศัยหลักทางสถิติ และหลักคณิตศาสตร์ มาใช้เพื่อค้นหารูปแบบ แนวทาง และความสัมพันธ์ของข้อมูลนั้น ภายใต้เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายตามมาตรฐาน IEEE 802.11 เพื่อพิจารณาค่า ความแตกต่างของจํานวนแอคเซสพอยท์ (Access point) ค่าความแตกต่างของระยะห่างของตําแหน่งอ้างอิง และค่าจํานวน ข้อมูลตัวอย่างที่เหมาะสม ซึ่งส่งผลต่อค่าความถูกต้องของตําแหน่งที่คํานวณได้อย่างไร โดยการทดลองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การพิจารณาเรื่องระยะห่างของตําแหน่งอ้างอิงที่แตกต่างกัน การพิจารณาเรื่องจํานวนของสัญญาณคลื่นวิทยุที่ใช้ อ้างอิงที่แตกต่างกัน และการหาจํานวนข้อมูลตัวอย่างที่เหมาะสมที่ใช้ในการสร้างลายลักษณ์ต้นแบบ โดยใช้ค่าความเข้มของ สัญญาณที่ได้รับเป็นตัวแปรหลักร่วมกับอัลกอริทึมการเปรียบเทียบแบบเพื่อนบ้านใกล้เคียง (k-nearest-neighbor : kNN) ใน การประมาณหาค่าตําแหน่งด้วยโปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อทําการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงของวิธีการดังกล่าวโดยใช้ ค่าความผิดพลาดของระยะห่างเป็นตัวชี้วัด จากการทดลองโดยใช้วิธีการพิจารณาเอกลักษณ์เฉพาะตําแหน่งด้วยเทคนิคการ ตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือ ร่วมกับการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการทําเหมืองข้อมูล และทฤษฎีแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลาง ผลการ ทดลองที่ได้คือ มีการใช้ระยะห่างของตําแหน่งอ้างอิงที่มากขึ้น ใช้จํานวนสัญญาณคลื่นวิทยุที่ใช้อ้างอิงลดลง และจํานวนข้อมูล ตัวอย่างที่เหมาะสมที่ใช้ในการสร้างลายลักษณ์ต้นแบบอยู่ที่ 25 ครั้ง
Thai title:
Item Type:
Thesis (Bachelor)
Deposited by:
ระบบ อัตโนมัติ
Date Deposited:
2021-09-06 03:38:05
Last Modified:
2021-09-06 03:38:05