A STUDY ON IMPROVING THE PERFORMANCE OF WIRELESS SENSOR NETWORKS

285

Views

0

Downloads

ด่านรัชดากร, ชาญฤทธิ์ and พึ่งฮั้ว, ปิยะณัฐ (2013) A STUDY ON IMPROVING THE PERFORMANCE OF WIRELESS SENSOR NETWORKS Bachelor thesis, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang

Abstract

โพรโทคอลแบบกลุ่มที่มีขนาดไม่เท่ากัน ที่มีการอ้างอิงถึงกันมากได้แก่ [1] [2] เกณฑ์วิธีการเลือกหัวหน้ากลุ่มจะพิจารณา จากพลังงานคงเหลือ (Residual Energy) ของโหนด โดยไม่สนใจว่าโหนดนั้นมีความสําคัญในด้านพื้นที่การตรวจจับ (Sensing Area) มากน้อยเพียงใด หากโหนดนั้นๆได้หมดพลังงานไป ความสําคัญในด้านพื้นที่การตรวจจับของโหนดคือ โหนดที่ไม่มีโหนดรอบข้างซึ่งมีระยะการตรวจจับทับซ้อนกัน (Overlap Sensing Area) หากโหนดนี้หมดพลังงานไปก็จะเท่ากับว่าเครือข่ายจะสูญเสียพื้นที่การตรวจจับ (Sensing Area) ทั้งหมดของโหนดนั้นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโหนดดังกล่าวมีความสําคัญมาก ต่างจากโหนดที่อยู่ในพื้นที่การตรวจจับที่ มีการทับซ้อนกันมาก หากโหนดดังกล่าวหมดพลังงานไป ก็ยังมีโหนดรอบข้างที่สามารถทดแทนพื้นที่การตรวจจับที่เสียไป ได้ ผู้วิจัยได้นําเสนอ ความหนาแน่นภายในพื้นที่การตรวจจับ (Density Sensing Area: DSA) ซึ่งเป็นตัวแปรที่บ่งบอก ถึงจํานวนโหนดรอบข้างของโหนดใดๆ ว่ามีความหนาแน่นมากน้อยเพียงใดภายในพื้นที่การตรวจจับ ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ใน การตัดสินใจเลือกหัวหน้ากลุ่ม (Cluster Head: CH) ผลลัพธ์ที่ได้คือโหนดที่มีความสําคัญน้อยจะมีโอกาสเป็นหัวหน้ากลุ่ม มากกว่าโหนดที่มีความสําคัญมาก จากการทดลองแสดงให้เห็นว่าการนํา DSA มาเป็นเกณฑ์ในการเลือกหัวหน้ากลุ่มสามารถแก้ไขปัญหาที่กล่าวไว้ ข้างต้นสําหรับเครือข่ายที่มีขนาดของกลุ่มไม่เท่ากัน (Unequal Cluster) อีกทั้งช่วยลดพลังงานที่ใช้โดยรวมของเครือข่าย และยังเพิ่มการครอบคลุมของพื้นที่การตรวจจับ (Coverage Sensing Area) ให้ยาวนานขึ้น ส่งผลให้คุณภาพการบริการ (Quality of Service: QoS) ดีขึ้นตามไปด้วย

Thai title:

การศึกษาแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย

Item Type:

Thesis (Bachelor)

Deposited by:

ระบบ อัตโนมัติ

Date Deposited:

2021-09-06 03:38:03

Last Modified:

2021-09-06 03:38:03

Impact and Interest:

Presentation Video

Statistics